Links

...

สภาแห่งชาติเพื่อมิตรภาพฝรั่งเศส-ไทยเกาะติด112 เฝ้ามองขบวนการล้มอำนาจประชาชนไทยใกล้ชิด, Asia News, Thai , news,





โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
9 กันยายน 2554

เมื่อวันที่ 7 กันยายน ที่ผ่านมา นายจรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และอดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้เข้าพบกับ นายญอง อีฟ เลอโดต์ ( M. JEAN-YVES LE DÉAUT ) ประธานกลุ่มสมาชิกสภาแห่งชาติเพื่อมิตรภาพฝรั่งเศส- ไทย ( GROUPE D'AMITIE FRANCE-ROYAUME DE THAÏLANDE ) ณ สภาแห่งชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย

ซึ่งนายจรัล สรุปสถานการณ์ว่า ประเทศไทยมีรัฐบาลใหม่ที่มีพรรคเพื่อไทยที่ได้เสียงข้างมากอย่างเด็ดขาดจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม เป็นแกนนำ โดยมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก แม้สถานการณ์ทางการเมืองจะดีขึ้น แต่วิกฤติความขัดแย้งและการต่อสู้ระหว่าง 2 ฝ่าย ฝ่ายประชาธิปไตยที่มีคนเสื้อแดงเป็นกองหน้า กับฝ่ายรอยัลลิสต์ และอนุรักษ์นิยมสีเหลืองยังคงดำรงอยู่ทุกหนทุกแห่ง

ฝ่ายหลังตั้งแต่พรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกวุฒิสภาสรรหา สื่อมวลชน นักวิชาการ และนักธุรกิจนายทุนออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านต่อต้านรัฐบาลแทบทุกวัน ข่าวลือคนคิดโค่นล้มรัฐบาลโดยศาลรัฐธรรมนูญ และรัฐประหาร เป็นระยะๆ สถานการณ์ยังไม่น่าไว้วางใจ

นายจรัลยังได้เน้นเป็นพิเศษเกี่ยวกับการใช้กฎหมายดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาเพื่อจำกัดเสรีภาพทางความคิดเห็น กลั่นแกล้ง ทำลายฝ่ายตรงกันข้ามของทางการมีมากขึ้น มีผู้ถูกกล่าวหา ถูกจำกุมคุมขังและต้องโทษนับร้อยๆ

นายญอง อีฟ เลอโดต์ ให้ความสนใจกับกรณีนี้ โดยอ้างรายงานขององค์การนิรโทษกรรมสากลปีค.ศ. 2010 พร้อมกับถามถึงสถานการณ์ชายแดนภาคใต้เป็นอย่างไร นายจรัล ยืนยันว่า วิกฤติใต้ยังไม่มีแนวโน้มคลี่คลายแม้จะเข้าปีที่ 8 แล้ว

สุดท้าย นายจรัล ขอให้กลุ่มมิตรภาพฝรั่งเศส-ไทย ติดตามสถานการณ์ทางการเมืองไทยอย่างใกล้ชิด สนับสนุนขบวนการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยเฉพาะการพบปะกับกลุ่มคนเสื้อแดงในฝรั่งเศส และอยากเห็นกลุ่มมิตรภาพฝรั่งเศส-ไทย ของสภาแห่งชาติ แสดงท่าทีทางการเมืองต่อกรณีที่เกิดขึ้น ซึ่งประธานฯรับว่าจะทำอย่างที่ร้องขอแน่นอน

อนึ่ง เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ได้เข้าพบนายเบร์นาร์ด ชอกีย์ (BERNARD SEAUGEY)ประธานกลุ่มสมาชิกวุฒิสภาเพื่อมิตรภาพฝรั่งเศส-ไทย ) มาแล้ว

****
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:AMNESTY รายงานกรณีไทยกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2553

ผู้ประท้วง 74 คน เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจ 11 คน เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์ 4 คน และผู้สื่อข่าว 2 คนถูกสังหาร กองกำลังฝ่ายความมั่นคงได้ใช้กำลังเกินกว่าเหตุ ทั้งการใช้อาวุธปืนที่มุ่งหมายชีวิตและการประกาศ “เขตกระสุนจริง” เป็นเหตุให้ผู้ประท้วงและคนทั่วไปที่ไม่มีอาวุธหลายคนเสียชีวิต ..รัฐบาลได้ควบคุมตัวประชาชนกว่า 450คนในช่วงเริ่มต้นการประท้วง และยังมีอีก 180 คนที่ถูกควบคุมตัว

รัฐบาลได้ควบคุมเสรีภาพในการแสดงความเห็นโดยอ้าง พรก.ฉุกเฉินฯ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

0 comments:

Post a Comment

Blog Archive

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Grants For Single Moms